วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

โรงแรมอมารี บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เปิดบริการ ต.ค. 56 นี้


"เนวิน  ชิดชอบ" เล็งเปิด "อมารี บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด" ตุลาคมนี้ ชูจุดเด่นโรงแรมธีมฟุตบอลแห่งแรกของไทย  พร้อมเดินหน้าสร้างสนามแข่งขันรถยนต์ระดับโลก ซึ่งเป็นส่วนขยายของ ไอ-โมบาย ธันเดอร์ คาสเซิล สเตเดียม ดันบุรีรัมย์เป็นจังหวัดเพื่อการท่องเที่ยวและจัดกิจกรรมกีฬาชั้นนำ

นายปีเตอร์ เฮนลีย์ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ออนิกซ์ ฮอสพิทาลิตี้ กรุ๊ป เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ออนิกซ์เตรียมเปิดให้บริการ "โรงแรมอมารี บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด" ของบริษัท บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด สปอร์ต โฮเต็ล จำกัด (ซึ่งมีนายเนวิน ชิดชอบ เป็นเจ้าของโรงแรม) ในวันที่ 4 ตุลาคมนี้ โดยมีออนิกซ์เป็นผู้บริหารโรงแรมให้ภายใต้แบรนด์ "อมารี"

"จุดเด่นของโรงแรมดังกล่าวจะเป็นโรงแรมในธีมฟุตบอลแห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งจะมีสนามฟุตบอลขนาดเล็กตั้งอยู่ในโรงแรมด้วย ประกอบกับการตั้งอยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์ซึ่งเป็นโลเกชันที่ตั้งอยู่ใกล้กับด่านชายแดน ส่งผลให้สามารถรองรับนักท่องเที่ยวอาเซียนเมื่อมีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีในปี 2558 และเมื่อนักท่องเที่ยวอาเซียนมีการเดินทางเชื่อมโยงระหว่างกันมากขึ้นจะส่งผลให้โรงแรมได้รับความนิยมมากขึ้น"



ทั้งนี้ อมารี บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด มีห้องพักจำนวน 64 ห้อง ขนาดตั้งแต่ 34-114 ตารางเมตร แบ่งเป็นห้องสุพีเรียร์ 44 ห้อง ดีลักซ์ 14 ห้อง และห้องสวีต 2 ห้อง ซึ่งได้รับการออกแบบโดยบริษัท ไอวิว ดีไซน์ สตูดิโอ จำกัด ผู้ออกแบบสนามแข่งขันฟุตบอล ไอ-โมบาย ธันเดอร์ คาสเซิล สเตเดียม ซึ่งจะทำให้ผู้มาเยือนรู้สึกเหมือนเดินเข้าสู่สนามแข่งขันกีฬาฟุตบอลอย่างแท้จริง เนื่องจากโครงสร้างของอาคารได้รับแรงบันดาลใจจากสนามแข่งขันด้วยการจัดตำแหน่งให้ห้องพักโอบล้อมพื้นที่สันทนาการส่วนกลาง ซึ่งเป็นสนามฟุตบอลขนาดเล็กและสระว่ายน้ำ นอกจากนี้ ผู้เข้าพักยังจะได้พบความแปลกใหม่จากห้องอาบน้ำสไตล์ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้านักกีฬาและห้องอาหารที่ใช้เก้าอี้แบบม้านั่งยาว เพื่อสร้างความรู้สึกเป็นกันเองเสมือนทีมนักกีฬามานั่งรับประทานอาหารร่วมกัน

สำหรับกลุ่มเป้าหมายของลูกค้าโรงแรมจะเป็นนักท่องเที่ยวในประเทศและในท้องถิ่น รวมถึงกลุ่มนักธุรกิจและกลุ่มนักท่องเที่ยวพักผ่อนหรือเลเชอร์ ตลอดจนกลุ่มที่มาทำกิจกรรมกับสนามฟุตบอล และแฟนฟุตบอลที่มาชมฟุตบอลจะต้องมาเข้าพักที่โรงแรมแน่นอน โดยพร็อพเพอร์ตี้นี้ได้รับความสนใจมากจากทั้งชาวไทยและต่างประเทศ เพราะเป็นโรงแรมธีมฟุตบอลแห่งแรกของไทย

ด้านนายเนวิน ชิดชอบ ประธานสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ยูไนเต็ด เผยว่า การเปิดตัวโรงแรม อมารี บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ถือเป็นการลงทุนครั้งสำคัญเพื่อสร้างให้เมืองบุรีรัมย์เป็น 1 ใน 5 จังหวัด เพื่อการท่องเที่ยวและการกีฬาที่น่ามาเยือนที่สุดในไทย โดยในปี 2557 จะมีการสร้างสนามแข่งขันรถยนต์ระดับโลกซึ่งเป็นส่วนขยายของ ไอ-โมบาย ธันเดอร์ คาสเซิล สเตเดียม ซึ่งทั้งสองส่วนนี้ทำให้มั่นใจว่าจะส่งผลให้บุรีรัมย์เป็นจังหวัดเพื่อการท่องเที่ยวและการจัดกิจกรรมทางการกีฬาชื่อดัง ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวจำนวนมากในอนาคต

ที่มา http://www.thanonline.com/



ชิงแชมป์เอเซีย THAILAND VS MONGOLIA


   

โปรแกรมการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงชนะเลิศแห่งเอเซียครั้งที่ 17 ณ จังหวัดนครราชสีมา ในวันพรุ่งนี้

ยิมชาติชาย
11.00น เกาหลีใต้ เจอ อิหร่านหรืออินเดีย (กำลังขับเคี่ยวกัน แต่อิหร่านนำ 2-1 เซ็ตตอนนี้)
14.00น ญี่ปุ่น เจอ ไทย
16.30น จีน เจอ ไต้หวัน
19.00น คาซัคสถาน เจอ เวียตนาม

ยิมเดอะมอลล์
11.00น ออสเตรเลีย เจอ ฮ่องกง
14.00น อินโดนีเซีย เจอ มองโกเลีย
16.00น อินเดียหรืออิหร่าน เจอ เมียนม่าร์
18.00น ศรีลังกา เจอ ฟิลิปปินส์

10 ways to guarantee your presentation is a dismal failure !!!

Have you ever wondered what makes great presenters great? I do, and while I don’t have the secrets to greatness, I can provide a recipe for disaster. You might not have to do all these things in the same presentation to fail miserably, but certainly if you have the discipline to do them all, only failure can possibly follow.


  1. Show up late. I imagine few things show less respect for an audience than not showing up on time. If you have problems during your presentation, they will typically be less inclined to give you the benefit of the doubt. Some will dismiss you as a bozo, and you might not enjoy that.
  2. Make lame jokes about showing up late. You might think you’re lightening the mood or injective some levity, but subconsciously, you’re probably just trying to deflect responsibility to someone or something else. If you’re late, you’re late—admit it, apologize, then move on.
  3. Prepare, a little. The less you prepare, the less likely you’ll be able to handle problems during your presentation, and the less likely your words will hang together and make sense as a whole.
  4. Assume your equipment will work. I use a Mac for my presentations, and so I usually ask the host whether I should expect any problems connecting to their projector. It is important to distinguish, “No, there will not be any problems” from “I don’t see any reason why there should be a problem.” The first indicates that previous presenters have successfully connected with their Mac, and the second indicates that no-one knows what will happen. Especially in the second case, prepare for the worst to happen.
  5. Don’t have back-up materials. When the worst happens and you can’t use your visual material, you need some kind of back-up plan, whether it’s to ignore the material entirely, draw on a whiteboard or something else.
  6. Let technical problems distract you. When your visuals fail you, it’s back to execute your back-up plan and move forward. If you let the problems distract you, then you won’t be present for your audience and they will notice. Put yourself in the frame of mind of someone that doesn’t have visual equipment at all, that way you won’t be tempted to “resume the normal program” if, by some minor miracle, things work themselves out. Concentrate on your message and do your best to present it.
  7. Try to fix technical problems while continuing to present. Even if your audience somehow doesn’t notice when you’re distracted, they will certainly notice when you half-ignore them. If you really want to solve your technical problems, excuse yourself, take the time to concentrate on fixing the problem, then fix it. If after a minute or two you have no solution, then ignore the visuals and move on. Do not, however, talk to the computer or projector as thought it were the audience. If you’re going to talk to the audience, then give them your full attention.
  8. Make lame jokes to cover your frustration. While I wouldn’t go so far as to say, “Never let ’em see you sweat,” being passive-aggressive in your reaction to your frustration is no good either. Your audience will understand if you’re frustrated, but they want you to get past it and say what you came to say. Making jokes to cover your frustration helps you remain distracted by it, and as I’ve already said here, that keeps your attention divided, and the audience will not appreciate that.
  9. Forget your key premise. What worse outcome from frustration could there be than forgetting your key premise? The audience has already put up with your late arrival, your inability to get over technical problems, and now you leave them wondering just what on earth you were talking about. Can it get any worse?
  10. Just give up. Your audience wants you to succeed. If you let yourself, you can almost feel them pulling for you, in spite of all the problems you’ve gone through in front of them. The audience deserves your best effort, so giving up near the end, rather than collecting yourself and getting over the finish line is a cop out. If you plan to do that, then don’t accept the next invitation to speak.

    ความผิดพลาด 5 ประการ ของการนำเสนอ (Presentation Failure)


    การนำเสนอที่เคยเป็นหนึ่งในทักษะสำคัญสำหรับคนทำงาน นับเนื่องถึงทุกวันนี้ ได้แปลงร่างเป็นทักษะที่ “จำเป็น” ต่อความสำเร็จทั้งในงานประจำ งานโครงการ ทั้งยังแสดงศักยภาพในการเป็นผู้นำอีกด้วย

    ว่ากันว่า หากนำเสนอไม่ได้ ไม่รู้เรื่อง ไม่สำเร็จ ก็จองคิวแป๊กกันได้แต่เนิ่นๆค่ะ

    การนำเสนอทุกวันนี้ซับซ้อนกว่าแต่เดิมอยู่มาก เพราะองค์กรทอนโครงสร้างให้สั้นลง โอกาสที่ผู้บริหารระดับกลางจะนำเสนอต่อซีอีโอ หรือบอร์ดจึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ เป็นปกติสามัญ ยิ่งในยุคสมัยโลกใบเล็กลงเช่นนี้ การนำเสนอต่อผู้ฟังหรือผู้พิจารณาหลากสัญชาติ ยังเป็นเรื่องที่ไม่เกินคาดเดา

    บ่อยครั้งที่การพัฒนาทักษะการนำเสนอจะมุ่งไปที่ทำอย่างไรจะนำเสนอได้สำเร็จ แต่ผลลัพท์กลับไม่ใคร่ได้ดังใจ เพราะผู้เข้าพัฒนายังคง ตกกับดัก “สไตล์การนำเสนอที่คุ้นเคย” อยู่เช่นนั้น

    การณ์จึงกลับกลายเป็นว่า วิธีการนำเสนอที่ผิดพลาดก็ยังคงอยู่อย่างนั้น แล้วจะคาดหวังความสำเร็จใหม่ๆได้อย่างไร

    ใน Harvard Business Review เล่มล่า ได้ตีพิมพ์บทความเรื่องความผิดพลาดของการนำเสนอ โดยผู้เขียน Chris Anderson และได้กลายเป็นบทความยอดนิยมอันดับหนึ่งชนิดไม่ทันข้ามคืน นับว่ามีประเด็นที่คลาสสิค เหมาะเจาะกับแนวทางวิธีการนำเสนอในบ้านเราที่มายได้ประสบมาในบทบาทที่ปรึกษาอย่างน่าทึ่ง จึงอดไม่ได้ที่จะแลกเปลี่ยนในครั้งนี้ค่ะ

    1. ใช้เวลาอธิบายว่า “กำลังจะ” นำเสนออะไรอย่างยืดยาว อาจด้วยความตื่นเต้น เตรียมตัวน้อย หรือตั้งใจจะให้ผู้ฟังเข้าใจอย่างชัดเจนถึงวัตถุประสงค์และประเด็นของการนำเสนอ จึงเกิดภาวะอธิบายวัตถุประสงค์ที่มาเนื้อหา และอธิบายซ้ำๆถึงความสำคัญจำเป็นเกินกว่า 10% ของเวลา นับว่าเป็นวิธีการที่ทำให้ผู้ฟังละความสนใจไปได้อย่างง่ายดาย

    2. “อ่าน” งานนำเสนอไปพร้อมกับผู้ฟัง ผู้นำเสนอทำหน้าที่สรุปประเด็นรวบยอดทางสถิติข้อมูลแนวโน้มและ “เล่าเรื่อง” ประกอบประเด็นสำคัญ แต่พบได้เป็นอาจิณที่ผู้นำเสนออ่านสไลด์ไปพร้อมกับผู้ฟัง ชนิดที่ว่าไม่ละสายตาจากหน้าจอ เช่นนี้แล้ว ผู้ฟังหรือผู้พิจารณา จะเบื่อหน่ายเพิกเฉย และพลิกอ่านเอกสารประกอบด้วยตนเอง พร้อมตัดสินใจอย่างรวบรัด ก่อนการนำเสนอจะสิ้นสุด

    3. นำเสนอด้วยน้ำเสียงเบา เชื่องช้า ไร้จังหวะจะโคน หมายรวมไปถึงการไม่ใช้ภาษากาย ประกอบการนำเสนอด้วย ทั้งที่การนำเสนอเป็นการสื่อสารกับผู้ฟังแบบทั้งตัว เมื่อใช้น้ำเสียงโมโนโทน ประกอบกับการนั่งนำเสนอนิ่งๆ นับว่าเป็นการกล่อมผู้ฟังให้หลับผล็อยไปได้ในเวลาอันสั้นค่ะ

    4. ไม่จัดสรรเวลาและจังหวะสำคัญ มีที่มาจากการเตรียมนำเสนอด้วยไฟล์พาวเวอร์พ้อย เมื่อทำไฟล์แล้วเสร็จ ก็ไม่ได้ซ้อมและจับเวลาที่ใช้ในการนำเสนอ ที่สำคัญ ละเลยการกำหนดว่าช่วงใด หรือเนื้อหาตรงไหน เป็นจุดพีค หรือไฮไลด์ ทำให้ยามนำเสนอจริงจึงเกิดภาวะเอื่อยเนือย และผู้ฟังตีความประเด็นสำคัญด้วยตนเอง

    5. ไม่ทอดสะพานความเชื่อมโยงไปยังผู้ฟัง ความเชื่อมโยงระหว่างนำเสนอเป็นสิ่งสำคัญมาก ไม่ว่าจะกระทำด้วยการใช้คำพูดเฉพาะหรือ Jargon ที่กลุ่มผู้ฟังใช้อยู่เป็นประจำ การสบตา เรียกชื่อยามขอความเห็น หรือใช้คำว่าเราให้มาก แต่ผู้นำเสนอที่ไม่ใส่ใจมิติด้านอารมณ์นี้ มักมุ่งไปที่การส่งสารด้านเนื้อหาเป็นสำคัญ ลึกๆแล้ว มีทัศนคติว่าผู้ฟังหรือผู้พิจารณา เป็นคนละพวกกับตน ทั้งยังไม่ทำการบ้าน ว่าผู้ฟังเป็นใคร ชื่อ ตำแหน่ง บทบาท ความสำคัญ มีสิ่งที่มุ่งหวัง หรือข้อพึงระวังอะไรบ้าง

    การนำเสนอที่ผิดพลาดเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ แต่หากพิจารณาสไตล์ของตน หรือสอบถามความคิดเห็นว่าเพื่อนร่วมงานที่ไม่มีอคติ เพื่อเป็นกระจกส่องทาง ในการลดละความผิดพลาดซ้ำๆ ก็นับเป็นก้าวแรกที่จะพัฒนาการนำเสนอให้ได้ใจและได้งานดังประสงค์ในทุกๆสถานการณ์และทุกความท้าทายค่ะ

    วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556

    Location คือ ความสำเร็จของการลงทุนอสังหาริมทรัพย์

    ผมมีเพื่อนที่ลงทุนที่นี่และประสบความสำเร็จก็มี ไม่ประสบความสำเร็จก็มี ก็เลยขอยกตัวอย่าง มีอยู่รายหนึ่ง แกอยู่ลอนดอนมาหลายสิบปี แกพยายามทำอะไรเล็กๆ แต่พอตัว ซื้อๆ ขายๆ โดยเลือกทำเลที่ดีที่ 1 และที่ 2 เท่านั้น พอซื้อมายังขายไม่ได้ ก็ให้เช่ารอไป ใครขายแกซื้อ ใครซื้อแกขาย จนในที่สุดกลายเป็นเศรษฐีใหญ่ จากไม่มีอะไรมามากนัก ส่วนเพื่อนอีกคน ไม่มีประสบการณ์ แต่มีเงินพอ มีคนเอาตึกใหญ่ๆ สวยๆ มาขายก็ซื้อโดยไม่เข้าใจธรรมชาติของการอยู่อาศัยของลอนดอนเลย เตรียมพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัยและโรงแรม แต่บังเอิญไม่เป็นที่นิยม ก็เลยไม่ค่อยดีเท่าไร

    การไปฟังเขามาอย่างเดียวไม่พอเพราะตัวเลขราคาคอนโด หรืออพาร์ทเม้นท์ที่นี่ราคามีตั้งแต่ตารางฟุตละ 1,000 ปอนด์ (50,000บาท) จนถึง 6,000 ปอนด์ (300,000บาท) หรือตารางเมตรละ 3,000,000 บาท


    ถ้าเราเข้าใจผิดก็อาจเป็นว่าซื้อของมาถูก ฝันจะขายแพงๆ มันไม่ได้ง่ายเช่นนั้น จุดอ่อนของคนไทยคือ เรารู้เรื่องต่างประเทศน้อยและรู้ไม่ลึก ไม่ยอมศึกษาให้ถี่ถ้วนก่อน ถ้าคิดจะลงทุนที่อยู่อาศัยในลอนดอน ต้องตั้งต้นที่ห้างสรรพสินค้า Harrods แล้วกางวงเวียนรัศมี 1 ไมล์ ย่านนี้ก็จะมี Hyde Park, Park Lane, Mayfair, Knightsbridge, Eaton Square, Wilton Crescent, Belgravia, Montpellier, Kensington เป็นต้น ย่านนี้ราคาไม่ค่อยตก เพราะคนซื้อไว้ เศรษฐีทั้งนั้น เมื่อเศรษฐกิจตก ก็ไม่ค่อยมีคนขาย พอเศรษฐกิจดี มีแต่คนมาซื้อ ย่านใหม่ที่กำลังมาแรง ก็จะเป็นย่าน Chelsea Harbour ครับ ถ้าย่านอื่นไกลกว่านี้ ราคาจะขึ้นไม่มาก เวลาเศรษฐกิจไม่ดี ราคาก็จะตก ขายต่อไม่คล่องเท่าที่ควร ส่วนย่าน City Center เป็นย่านที่ทำการธนาคาร ที่อยู่อาศัย โรงแรม ไม่มีคนนิยม ขายยาก ราคาไม่ดี

    สรุปเรื่องของอสังหาริมทรัพย์ ราคาขึ้นลง ขายยากขายง่าย ขึ้นอยู่กับทำเลที่ตั้ง (Location) เพราะฉะนั้น ต้องท่องคาถาให้ดีครับ ว่าจะเป็นนักพัฒนาหรือนักลงทุน หรือซื้อไว้ใช้เองก็ตาม คาถานี้คือ Location Location and Location ครับ คาถาอื่นไม่ศักดิ์สิทธิ์เท่าครับ และก็ต้องรู้จริงกับคำว่า Location ด้วย ไม่ใช่ฟังเขามาโดยไม่ไตร่ตรองหรือใช้ความชอบแบบบ้าน โดยไม่เข้าใจสภาพแวดล้อมของ Location นะครับ ท่องไว้ครับ อย่าวอกแวก

    Location Location and Location

    ตัวอย่างการแนะนำตัว ในการสัมภาษณ์งานภาษาอังกฤษ


    หากคุณต้องเข้าสัมภาษณ์งานเป็นภาษาอังกฤษ สิ่งแรกที่ผู้สัมภาษณ์งานมักให้คุณทำคือ การแนะนำตัวเป็นภาษาอังกฤษ วันนี้มีตัวอย่างการแนะนำตัวแบบย่อ ๆ มาฝาก โดยเริ่มจากการทักทายผู้สัมภาษณ์ จากนั้นบอกชื่อของคุณ ประวัติการศึกษา ประสบการณ์ต่าง ๆ ของคุณที่สอดคล้องกับตำแหน่งงานที่สมัคร รวมถึงบอกเหตุผลที่คุณสมัครงานนี้ตามตัวอย่างการแนะนำตัวดังต่อไปนี้

    ทักทายผู้สัมภาษณ์

    Hello/Good Morning. I am glad to be here for this interview.

    แนะนำตัว

    My name is _____________________________.

    เล่าถึงประวัติการศึกษา

    I graduated with a bachelor's degree in (สาขาวิชาที่จบ เช่น Communication Arts) from (ชื่อสถาบัน) University. In my course of study I took courses in (ชื่อวิชาที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่รับผิดชอบในตำแหน่งงานที่คุณสมัคร เช่น Public Relations and Advertising), with grad A in Advertising course.


    หากคุณยังไม่เคยทำงานมาก่อน ให้เน้นที่ประสบการณ์ในมหาวิทยาลัย และการฝึกงาน

    ประสบการณ์ในมหาวิทยาลัย

    While in the university I have joined (ชื่อชมรม/ชื่อกิจกรรม the Journalist Club) in 2008-2009 and I have been voted for a chairman in 2010. I learned a lot from this club. I got new friends from other faculties. Learn to work with others, learned to be a leader and learn how to succeed together.

    ประสบการณ์การฝึกงาน

    During my last summer vacation, I interned at (ชื่อบริษัท), a leading media agency in Thailand where I had 
    a chance to practice writing advertising copies and learned how to work as professional in the field.

    หากคุณมีประสบการณ์ทำงานแล้ว ให้เล่าย่อ ๆ เกี่ยวกับลักษณะงาน โดยเน้นที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานที่สมัคร

    ประวัติการทำงาน

    • หากคุณยังทำงานอยู่ I currently work as a (ชื่อตำแหน่ง) at (ชื่อบริษัท). 
    • หากคุณออกจากงานแล้ว I previously worked as a (ชื่อตำแหน่ง) at  (ชื่อบริษัท).

    My responsibilities include (หน้าที่ความรับผิดชอบของคุณ).

    เหตุผลที่สนใจสมัครงานนี้

    I am interested to apply for this position because I am confident that my experience in (ลักษณะงานที่ทำ) will prove to be a suitable match for your needs.

    ได้ทราบแนวทางการแนะนำตัวเป็นภาษาอังกฤษในเบื้องต้นกันแล้ว ทีนี้ ก็เตรียมลงมือร่างสคริปต์แนะนำตัวของคุณให้เหมาะสมกับคุณสมบัติและตำแหน่งงานที่สมัครให้มากที่สุดกันเลย
    ที่มา http://th.jobsdb.com/