วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556

KTB NETBANK บริการใหม่จาก กรุงไทยออนไลน์


บ่อยครั้งที่ผมใช้งานกรุงไทยออนไลน์  (KTB Online) ในการทำธุรกรรมต่าง ๆ เช่น เดิมเงินมือถือ โอนเงิน  และชำระค่าบริการต่าง ๆ มันสิ่งที่สะดวกมากสำหรับชีวิตที่เดินทางไปธนาคารได้ยากลำบากแบบนี

ปัจจุบันนี้ KTB Online กลายเป็น NETBank ไปเรียบร้อยแล้ว  ทำให้เราใช้งานการเงินออนไลน์ได้ง่ายขึ้น  นอกจากนี้ยังสามารถโหลด App เหล่านี้มาติดตั้งใช้งานในเครื่องโทรศัพท์ของเราได้แบบง่าย ๆ และ ฟรีด้วย  อิอิ...



เนื่องด้วยเครื่องมือใหม่ ๆ ที่ทาง NET Bank ได้พัฒนาขึ้น  ทำให้เราใช้งานได้ง่ายขึ้นมา  เป็นการรวมระบบทุกอย่างที่เราทำผ่านธนาคารกรุงไทยให้รวมอยู่ที่เดียวกัน  สามารถโยกย้ายเงิน  การลงทุน หรือชำระสินค้าต่าง ๆ ได้ภายในแว๊บบบ เดียว.....

เพื่อนคนไหนที่ยังไม่ลองใช้งานบริการเหล่านี  ลองใช้ดูครับ  แล้วเพื่อน ๆ จะติดใจคับ ^_^

วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2556

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหม่ ปี 2557


  • 1.รายได้สุทธิ 150,000 บาทแรก ได้รับการยกเว้นภาษีเหมือนเดิม ตามพระราชกฤษฎีกา
    (ฉบับที่ 470) พ.ศ. 2551
  • 2.รายได้สุทธิ 150,001-300,000 บาท จากเดิมเสียภาษี 10% >> 5%
  • 3.รายได้สุทธิ 300,001-500,000 บาท เสียภาษี 10% เหมือนเดิม
  • 4.รายได้สุทธิ 500,001-750,000 บาท จากเดิมเสียภาษี 20% >> 15%
  • 5.รายได้สุทธิ 750,001-1,000,000 บาท เสียภาษี 20% ตามเดิม
  • 6.รายได้สุทธิ 1,000,001-2,000,000 บาท จากเดิมเสียภาษี 30% >> 25%
  • 7.รายได้สุทธิ 2,000,001-4,000,000 บาท เสียภาษี 30% ตามเดิม
  • 8.รายได้สุทธิตั้งแต่ 4,000,000 บาท จากเดิมเสียภาษี 37% >> 35%
ส่วนผมคงจะอยู่ที่ข้อ 2 ดังนั้น ผมคงต้องเสียภาษีตามกฎหมาย  แต่คงลดหย่อนได้ทั้งหมด  อีกอย่าง...ผมคงไม่วันที่จะได้เงินสามแสนบาทต่อปีแน่ ๆ เพราะเป็นเพียงแค่ลูกจ้างคนนึง..

Popcorn Major Cinema อร่อยดี


วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2556

The Nature between I come back to Rangsit by Train















เป้าหมายของเรา กับ เป้าหมายขององค์กร

ไม่อาจปฏเสธว่า.... เป้าหมายของชีวิตคนเราล้วนเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและประสบการณ์ต่าง ๆ  ที่ได้พบเจอ  

เป้าหมายของตัวเราคืออะไร ?
หลาย ๆ คนคงมีเป้าหมายของตนเองว่าจะวางเส้นทางชีวิตไว้อย่างไร  จะเลือกเดินไปทางไหน  จะทำงานอะไร  ที่ไหน  และจะไปทำงานอื่นได้อย่างไรและที่ไหนบ้าง  หลังจากนั้น ช่วงเกือบจะบั้นปลายชีวิตเราจะเลือกวางเส้นทางไว้อย่างไร  

โดยส่วนใหญคงไม่มีใครทำงานที่ตนเองไม่ถนัด หรือว่า ระบบการทำงานที่ไม่ได้เรื่องไปตลอดชีวิตจริงไหม ?    และต้องเปลี่ยนงานใหม่จนกว่าเราจะพอใจและเพียงพอต่อการดำเนินชีวิต  แล้วเมื่อนั้นเราอาจจะพบกับความพอใจ  ความสุข  ความสมดุลต่าง ๆ ในชีวิต

เป้าหมายขององค์กรคืออะไร ?

เป้าหมายขององค์กรล้วนโน้มน้าวใจให้คนในองค์กรทุ่มเททำงานกับงานเหล่านั้นอย่างเต็มที่เพื่อให้งานที่ได้มีคุณค่า  คุณภาพ  ลูกค้าพึงพอใจ  ฯลฯ  มีบางครั้งก็ยังไม่เข้ามากนักว่าเป้าหมายขององค์กรคืออะไร ? นโยบาย วิสัยทัศน์ ที่กำหนดไว้นำมาปฏิบัติจริงจะได้มากน้อยเพียงใด  ? สิ่งเหล่านี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การทำงานไม่เป็นตามเป้าหมาย  การสอนงานไม่มี  การส่งไปอบรมเรียนรู้งานต่าง ๆ ก็ยากนักที่ตัวเองจะตัดสินใจ  

สุดท้ายแล้ว  เป้าหมายทั้งสองอย่างก็อาจจะไม่ไปด้วยกัน  ดังนั้นเราก็ควรแยกเป้าหมายให้ชัดเจนว่าชีวิตเราจะไปไหนต่อดี  ส่วนการทำงานคงไม่มีใครกล้าปฏิเสธนะว่า เป็นการทำงานเพื่อการยังชีพก็เท่านั้นเอง  ส่วนน้อยนักที่จะทุ่มเทให้กับองค์กร  บางทีอาจจะทุ่มเทในช่วงแรก  ๆ แต่พอนาน ๆ ไปอาจจะถูกอะไรบางอย่างทำให้เราไม่ทุ่มเท หรือ ไฟแรงอีกต่อไป...

วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2556

น้ำลำตะคอง เต็มตลิ่ง

ได้ยินข่าวคราวว่าทางโคราชถูกน้ำท่วมเนื่องจากน้ำจากลำตะคองล้น  ทำให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว  ... วันนี้ผมก็ได้เดินทางกลับบ้านผ่านลำตะคองพอดี ก็ได้เก็บภาพบรรยากาศมาฝากเพื่อน ๆ ว่าน้ำในลำตะคองมันเต็มขนาดไหน !!???  จากภาพจะเห็นว่ามีน้ำเต็มคลองเลยละ  แถมยังมีหน้าดินพังทลายลงมาด้วน  หากฝนตกไม่หยุดแบบนี้  รถไฟช้าแห่งประเทศไทยคงเดินต่อไปไม่ได้แน่นอนเลยละ










The Flower and Farm









วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บทบาทของสภาวิศวกรในยุคปัจจุบัน คืออะไร ?

บทความต่อไปนี้เป็นกระทู้ของสภาวิศวกร ซึ่งผมนำมาเสนอ ณ ที่แห่งนี้  ก็เพื่ออยากให้เพื่อน ๆ ผู้อ่าน ได้คิดและตระหนักถึงแก่นแท้ของสิ่งที่เกิด   จริง ๆ แล้วผมก็คิดอยากจะไปสอบ กว. เช่นกัน  แต่พอมาเจอกระทู้นี้  ก็เลยเกิดเห็นทางสว่างของชีวิตมากขึ้น  ไปดูกันครับ..

ขอเรียนถามสมาชิกสภาวิศวกรทุกท่าน เกี่ยวกับบทบาทของสภาวิศวกรในยุคปัจจุบัน ครับ
ผมอยากทราบความคิดเห็นของสมาชิกทุกท่านครับว่า บทบาทของสภาวิศวกรในปัจจุบันนี้ได้ให้อะไรกับพวกเราบ้างครับ เท่าที่ผมเห็นคือ การเก็บเงินแล้วเอาเงินไปใช้เพื่อตนเอง การออกใบ กว. เพื่อมากีดกันการประกอบอาชีพกันเองแล้วก็ทำให้พวกเราหลงในใบ กว. ภาคี สามัญ วุฒิวิศวกร ยกเลิกระบบใบ กว. ได้ก็จะดีนะครับ สภาวิศวกรควรจะไปควบคุมการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาให้ได้มาตรฐานจะดีกว่าไหมครับบัณฑิตจบมาจะได้มีคุณภาพสามารถประกอบอาชีพโดยสุจริตตามที่ได้เหล่าเรียนมา ไม่ใช่มามัวแต่หมกมุ่นกับต้องเอาใบ กว. ผมมองว่าการกระทำเช่นนี้ไม่ได้สร้างสรรค์ สภามาควบคุมที่ปลายเหตุ ผมสงสารประเทศไทยที่ต้องมีพวกคุณในสภาวิศวกรที่ไม่คิดถึงประเทศชาติเลย สรุปสภาวิศวกรควรไปควบคุมที่แหล่งผลิตวิศวกรก็คือมหาวิทยาลัยให้ได้มาตรฐานจะดีกว่านะครับ ไม่ต้องมีใบ กว. หรอก ช่วยกันทำงาน ตามที่เหล่าเรียนมา ไม่ต้องมากีดกันกัน และบ้าอำนาจกัน

 เห็นด้วยคร๊าบ อาจารย์

ขอตอบในนามของสภาผู้แทนหมู่บ้านละกัน
ทางสภาคงทำอะไรไม่ได้มาก
เพราะว่าเรามีสโลแกนประจำใจอยู่ว่า
\"เอ่อ เรื่องนี้ ทางสภาฯไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง\"
หรือว่า \"เอ่อ..สภาฯไม่มีอำนาจ คงต้องให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดูและเอง\"
*********แล้วจะมีสภาฯไว้ทำ ค...ว...x อะไรฟะ***********

 -เห็นด้วยกับท่าน วุฒิวิศวกร แก่แล้ว มากเลยครับ แต่ผมขอเพิ่มเติมว่า การเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา เขาก็เข้าไปยุ่งทุกเรื่อง เช่น เรื่องอาจารย์ผู้สอน หัวหน้าภาควืชา หลักสูตร เป็นต้น ทำให้ระบบการบริหารมีปัญหา ระบบการจัดหลักสูตรเหมือนกัน ถูกล็อคไว้ มหาวิทยาลัยทำหลักสูตรให้หลากหลายเฉพาะไม่ได้ ต้องทำหลักสูตรเพื่อเอา กว. เท่นั้น น่าปวดหัวมากเลย แล้วแบบนี้ประเทศชาติจะพัฒนาการศึกษาไปได้อย่างไรครับผม
--ถามว่าถ้าเรียนผ่านหลักสูครที่ผ่านการรับรองแต่ไม่ตั้งใจเรียนไม่มีความรู้จะได้มาตรฐานไหมครับ
-วิธีที่ผมขอเสนอ คือ จัดสอบแล้วทำแบบทดสอบให้สามารถวัดความรู้ได้จริง แล้วให้ผู้ที่ทำข้อสอบได้ คือ ผู้มีความรู้ ภ้าผ่านการทดสอบก็ยอมรับได้

ใบ กว. เป็นสิ่งสำคัญที่แสดงถึงความสามารถที่วิศวกรควรจะมีในการออกแบบ และเป็นการให้คำสัญญาว่าจะเป็นผู้มีจรรยาบรรณ หากมีกฏหมายกำหนดการลงโทษที่ค่อนข้างหนักก็อาจไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีใบ กว. ซึ่งในอดีตก็มีตัวอย่างในอารยธรรมหนึ่งซึ่งหากอาคารพังทลายเป็นเหตุให้ผู้อยู่อาศัยเสียชีวิต ผู้สร้างหรือผู้ออกแบบอาคารนั้นก็จะถูกประหารชีวิตทันที

ผมสำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ มีประสบการณ์ทำงานจากต่างประเทศ มีใบวิศวกรจากต่างประเทศ ตั้งแต่ พ.ศ. 2537 แต่การทำเรื่องขอใบ กว. ต่อสภาวิศวกรฯนั้นทำได้ยากมาก ทั้งจะต้องไปหาหลักสูตรที่เรียนมา 17 ปีที่แล้วและแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย แม้สถาบันการศึกษานั้นจะมีชื่อเสียงและถูกรับรองโดย กพ. ขณะที่ประสบการณ์ที่ผ่านมาถูกนับให้เป็นศูนย์เพราะเริ่มนับได้ก็ต่อเมื่อได้ใบ กว. ระดับภาคีจากสภาฯ แล้วเท่านั้น อีกทั้งเมื่อมีใบ กว. แล้วก็หาซื้อประกันวิชาชีพในประเทศไทยไม่ได้ ไม่เหมือนในต่างประเทศ

การที่มีการแยกประเภทใบ กว. โดยมี วุฒิ แยกออกไปจากสามัญนั้นก็ไม่เหมาะสม เพราะทำให้เกิดเรื่องผลประโยชน์ และความซำซ้อน ในต่างประเทศที่เป็นผู้คิดวิธีคำนวณการออกแบบ ทางวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งประเทศไทยเป็นผู้นำมาใช้ ก็ไม่มีการแยกประเภทอย่างนี้ มีเพียง ภาคี ซึ่งมีเมื่อเริ่มเก็บประสบการณ์หลังสำเร็จการศึกษา และอีกประเภทก็คือ วิศวกร ซึ่งมีทั้งการศึกษาและประสบการณ์ทำงานตามที่ได้กำหนด

ผมจึงเลือกที่จะไม่สมัครทำใบ กว. ของสภาวิศวกรรมแห่งประเทศไทย  จนกว่าจะปรับปรุงให้เป็นไปตามมาตราฐานของประเทศต่างๆที่เจริญแล้ว พร้อมทั้งมีการออกกฏหมายที่เป็นธรรมไม่ซำซ้อน และเอื้อประโยชน์ให้แก่บุคคลพวกหนึ่งพวกใด และมีกรมธรรม์ประกันภัยเนื่องจารการประกอบวิชาชีพ และหวังว่าทั้งสามอย่างนี้น่าจะเกิดขึ้นภายใน 20 ปี

การสอบทุกระดับของสภาฯ เป็นเพียงมายากลระดับประเทศเท่านั้น
๑.ข้อสอบทุกระดับที่จัดสอบมีรั่วไหลออกมาเต็มไปหมด หาได้ทั่วไปแม้ในเวปแห่งนี้
๒.การรับรองผลงานระดับสามัญ วุฒิ ก็ไม่มีมาตรฐานที่ชัดเจน มีหลายมาตรฐาน แล้วแต่เส้นใครใหญ่ เล็กขนาดไหน? แต่ที่แน่ๆคณะกรรมการไม่เคยออกไปดูและสัมผัสเลยว่าจริงๆแล้วผลงานเป็นอย่างไร? ได้แต่นั่งเทียนวาดภาพเอาจากรายงาน และลายเซ็นคนรับรองเท่านั้น
๓.ข้อสอบที่นำมาให้ทำกันก็เป็นข้อสอบเก่าที่ขึ้ราเป็นปลาร้า น้ำเน่าหนอนเต็มไปหมดแล้ว
๔.การสอบสัมภาษณ์ก็เป็นการสอบที่เป็นเพียงพิธีเท่านั้น ไม่ศักดิ์สิทธิ์แต่อย่างใด เพราะขอเพียงให้เข้าสอบเท่านั้น จะผ่านโดยสะดวก
๕.สภาฯอันทรงเกียรติและเป็นผู้ควบคุมคุณภาพ มาตรฐานวิศวกร กลับถูกขู่ ก้าวร้าว ด่าด้วยถ้อยคำหยาบช้า เสียจนอุจจาระขึ้นไปอยู่บนสมองแล้ว จนยอมลดมาตรฐาน คุณภาพที่เคยมีและปฏิบัติกันมาช้านาน
จนน่าจะเป็นการอับอายมากกว่านะ ที่จะบอกบุคคลอื่นว่าสอบผ่านระบบการสอบต่างๆของสภาฯ เพราะคนในวงการฯเขารู้กันว่า เป็นมายากลดีๆนี่เอง แม้แต่เจ้าตัวคนเข้าสอบเองก็เถอะ รู้ดีแก่ใจเองว่าตนเองสอบผ่านมาได้อย่างไร?

 ที่จริงผมมองว่า กว มันก็มีไว้จะได้รับผิดชอบกับสิ่งที่ทำ แต่ว่า มีบางคนที่สมัยเรียนอาจจะไม่ได้เก่ง เรียนผ่านๆแต่ จบ แต่ไม่ผ่านเกณฑ์การขอ กว แต่ทำงานเป็นที่มีฝีมือล่ะ คนเราเรียนเก่งไม่ได้เก่งเรื่องงานเสมอไปหรอก สภาแม่งก็แค่เอาปลายเหตุมาแก้ สุดท้ายก็เป็นเรื่องตัง ใครมีเงินแม่งก็ทำได้หมดแหละประเทศไทย

 ในเมื่อไม่เห็นด้วย แล้วจะเอาวุฒิวิศวกรไปเพื่ออะไรครับ ยังไงก็ต้องมีไว้ครับ เกิดออกแบบแล้วตึกถล่ม ไฟไหม้ แล้วใครจะรับผิดชอบล่ะ
แต่ที่ไม่ค่อยดี คือการให้ข้อมูลข่าวสารของทางสภาวิศวกร หรือแม้แต่มาตรฐาน ตอนนี้ มีความขัดแย้งด้านมาตรฐานกันเยอะมาก วิศวกรไม่เข้าใจ หรือหาเอกสารอ้างอิงกันไม่ได้ ได้แต่บอกว่า เคยทำกันมา ในฐานะที่ผมเป็นคนรุ่นใหม่ ผมว่ามีระดับขั้นเป็นสิ่งดี แต่สิ่งที่ควรปรับปรุงคือ ระบบมาตรฐานบ้านเรามากกว่า ถ้ามีความรู้มากกว่านี้ ผมก็จะขอวุฒิวิศวกร เพื่อมาประดับภูมิความรู้ที่มีอยู่

 เรียนวุฒิวิศวกร อาชีพทางด้านกฎหมาย แพทย์ บัญชี หรือสอบขั้นทางราชการ เข้าก็มีสอบเหมือนกันครับ และต้องมีผลงานทางด้านปฏิบัติด้วย ถ้าเป็นไปได้อยากให้ท่านเสนอนายกสภาวิศวกร ควรลดค่าธรรมเนียมต่างๆลงบ้าง ราคาต่างๆต้องเห็นชอบจากทุกฝ่าย ไม่ใช่แค่มาจดทะเบียนประกอบวิชาชีพคิดแพง ทั้งจดทะเบียนแบบบุคคลและนิติบุคคล เพื่อผลประโยชน์โดยรวมของวิศวกรอาชีพเดียวกัน เห็นบ่นกันตลอด

 ยำมันสักทีครับพวกคนที่ทำงานในสภาวิศวกร คนเดือดร้อนเพราะมันมาเยอะแล้ว ทำอะไรไร้สาระ เอาแต่ประโยชน์ส่วนตน ทำเป็นพูดเรื่องจรรยาบรรณ แล้วตัวเองมีจรรยาบรรณหรือปล่าว ครับท่าน

ที่มา  http://www.coe.or.th/e_engineers/webboard_topic.php?wtype=2&wNo=45967

วันพุธที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2556

นับถอยหลังสู่การยุติการให้บริการ Windows XP


หลังจากวันที่ 8 เมษายน 2557 ไมโครซอฟท์จำเป็นจะต้องยุติบริการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ Windows XP ที่ให้บริการมานานกว่า 10 ปี ซึ่งหมายความถึงว่าจะไม่มีการอัพเดทโปรแกรมเพื่อป้องกันความปลอดภัย (security update), บริการแก้ไขแบบที่ไม่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย (non-security hotfixes), ทางเลือกการขอการสนับสนุนทั้งกรณีที่เสียค่าใช้จ่าย และไม่เสียค่าใช้จ่าย รวมถึงการให้ข้อมูลทางเทคนิคแบบออนไลน์ (online technical content update) สำหรับผลิตภัณฑ์ Windows XP และ Office 2003 อีกต่อไป ซึ่งจะส่งผลกระทบด้านความปลอดภัยและความสะดวกในการใช้งานทางธุรกิจของคุณ ดังนั้นหากคุณยังใช้งานผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่งดังกล่าว บริษัทขอแนะนำให้คุณวางแผนเพื่อเปลี่ยนมาใช้ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีบริการการสนับสนุนเต็มรูปแบบโดยเร็วที่สุด

ผลกระทบที่เป็นไปได้ในเชิงธุรกิจ:

เมื่อเครื่อง PC ของคุณไม่มีการอัพเดทโปรแกรมเพื่อความปลอดภัย หรือ security updates อาจทำให้ระบบซอฟต์แวร์เสี่ยงต่อไวรัส สปายแวร์ และมัลแวร์ต่างๆ ซึ่งจะเข้ามาทำการโจรกรรมหรือสร้างความเสียหายให้กับข้อมูลสำคัญของธุรกิจได้ 

เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น จากที่เคยมีการสนับสนุนทั้งแบบออนไลน์และทางโทรศัพท์ หลังจากวันที่ 8 เมษายน 2557 จะไม่มีการสนับสนุนใดๆให้กับคุณหรือคู่ค้า

ภายหลังจากการยุติบริการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ Windows XP และ Office 2003 ซอฟต์แวร์สนับสนุนต่างๆ จะเกิดลดลงจนหาได้ยาก ในขณะที่ฮาร์ดแวร์ที่ใช้งานกับ Windows XP ก็จะเสื่อมไปตามอายุการใช้งาน เหตุการณ์เหล่านี้ก็จะนำไปสู่ระบบที่ล้มเหลวและอุปสรรคต่างๆ ในการดำเนินธุรกิจของคุณที่เพิ่มมากขึ้น

บรรดาบริษัทซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ต่างๆ จะยุติการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ต่างๆของตน ที่ทำงานบน Windows XP เนื่องจากไม่สามารถขอรับ Windows XP และ Office 2003 updates เพื่อที่ต้องใช้ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ หากเกิดปัญหากับองค์กรของคุณ


เคยไหม... ทำงานมา 1 ปี เกิดอาการเมื่อยล้า เบื่องาน



หลังจากที่ผมทำงานมานาน 1 ปี รู้สึกช่วงหลัง ๆ เกิดอาการเมื่อยล้าอยู่บ่อย ๆ บางครั้งก็เกิดเบื่องานขึ้นมา  ไม่อยากตื่นไปทำงานเลย  อยากนอนอยู่ห้องทั้งวัน (ถ้าเป็นไปได้นะ)  แต่ก็ต้องตื่นไปทำงานให้ได้  ประเดี๋ยวจะมีผลกับการทำงาน  อาการเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ?? 

การทำงานเป็นวิศวกรเทคนิคไม่ต่างอะไรกับการเป็นพนักงานฝายผลิตเลย  ทำทุกอย่าง ทุกงานที่ไม่มีคนทำ เราก็ต้องทำเอง  สรุปคือ...ไม่ควรจะคิดมาก  ไม่ควรจะคิดว่าเราเป็นวิศวกร  ควรจะคิดว่าเราเป็นสักอย่างที่ทำงานหลากหลายได้ก็พอ   เฮ่อ...ชีวิต

จริง ๆ แล้ว  การทำงานมันประกอบได้ด้วยหลายส่วน เช่น  ระบบการทำงานที่วางเอาไว้  เพื่อนร่วมงาน  หัวหน้างาน  ลักษณะงาน  ฯลฯ  สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อการทำงานของเราทั้งสิ้น  ถึงแม้เราจะทำงานดีขนาดไหน  เต็มที่ขนาดไหน  แล้วผลที่เกิดขึ้นอาจจะไม่ได้ดั่งใจ  แสดงว่าระบบการทำงานยังไม่ดี  ไม่เอื้ออำนวยต่อการทำงานของเรามากนัก   หากระบบการทำงานถูกวางไว้ดี  การทำงานจะราบรื่น  รู้ขึ้นตอนต่าง ๆ สามารถทำงานได้เร็วขึ้น  เมื่อนั้น...เราก็จะได้ไม่ต้องมานั่งคิดว่า..เกิดจากอะไร ??  

แต่..มันเป็นสิ่งที่หายากสำหรับการทำงานปัจจุบัน  หากบริษัทวางระบบดี  บริษัทนั้นก็พัฒนาไปได้ไกลกว่าคู่แข่งได้หลายเท่า   แต่ถ้าหากบริษัทไหนยังไม่รู้จักระบบการทำงานที่ดี....เมื่อนั้นก็เตรียมดิ่งลงเหวไปได้เลย  เพราะจะถูกคู่แข่งวิ่ง เหยียบแซงไปไกลหลายโล เชียวละ 555+


วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2556

พูดคุยก่อนสร้างบล็อก (Blogger)


บล็อก คือ อะไร ?
บล็อก (Blogger) คือเว็บไซต์เล็ก ๆ อันหนึ่งที่ลูกพี่ใหญ่อย่าง Google ได้สร้างขึ้นมาเพื่อเรา  ทำให้เราสร้างสรรค์ผลงานต่าง ๆ ได้อย่างมากมาย  เช่น  เขียนเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิต  การท่องเที่ยว  บันเทิง  วิชาการ  ฯลฯ  แล้วแต่ว่า...เราจะชอบอะไร  อยากนำเสนออะไร

บล็อก  สร้างง่ายหรือไม่ ?
บล็อก (Blogger) สร้างง่ายมาก ๆ ครับ  เพียงเรามีอีเมล์ของ Google นั่นคือ Gmail.com เราก็สามารถสมัครใช้บริการต่าง ๆ จากเครือข่ายของ Google ได้ทั้งหมด  เช่น  gmail  adsense adword youtube และอื่น ๆ อีกมากมาย

คนส่วนใหญ่สร้างบล็อกแนวไหน ?
อันนี้เป็นคำถามที่มีคำตอบกว้างมาก ๆ ครับ  เท่าที่สังเกตมา...ส่วนมากจะเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่ได้พบเจอ  การท่องเที่ยว  รีวิวเครื่องไม้เครื่องมือ  ให้ความรู้ในสิ่งที่ตนเองถนัด  ขายของ  ฯลฯ  


ถ้าให้ง่ายควรเริ่มจากแบบไหนก่อน ?
เอาง่าย ๆ เลยก็คือ  เขียนเนื้อหาในส่วนที่เราอยากเสนอ  หรือ  สิ่งที่เราถนัด   เมื่อเราเขียนเรื่องเหล่านั้นได้แล้ว  จะทำให้เราเกิดแนวคิดต่อยอดจากงานเขียนอันเดิม  ทำให้เรามีความหลากหลายมากขึ้น  รู้แนวทางการเขียนมากขึ้น  นอกจากนี้  งานเขียนก็ควรใช้ภาษาเรียบง่าย  สไตล์เรา ๆ ให้คนอ่านได้อ่านแล้วรู้สึกเพลิดเพลิน  เข้าใจง่าย  เป็นต้น

แล้วบล็อกสร้างเงินให้เราได้หรือไม่ ?
ได้ !!!  ถ้าบล็อกที่เราสร้างมีคุณค่าต่อผู้อ่าน หรือ มีมูลค่ามาก (เมื่อทำการประเมินทางธุรกิจ)  แต่ว่า..ต้องใช้เวลากับการเขียนบทความเพื่อสะสมสิ่งที่มีประโยชน์นานพอสมควร ขั้นต่ำก็ 2 ปี เมื่อบล็อกของเราเป็นที่นิยมแล้ว  หลังจากนั้นบล็อกจะสร้างเงินให้เราไม่ขาดสายเลยละครับ

แหล่งเรียนรู้มีที่ไหนบ้าง ?
จะให้ง่ายสุดเลยก็คือ ปรึกษาผมก็ได้  ผมเป็นเจ้าของบล็อกแห่งนี้เอง  หรือ ถ้าต้องค้นข้อมูลด้วยตนเองก็ทำได้เช่นกันคือ  ใช้ Google ค้นหาแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ  เพราะว่ามีคนเก่ง ๆ เขาทำบล็อกสอนวิธีการสร้างไว้มากมายเลยละครับ  ส่วนตัวผมเองก็สร้างบล็อกมากว่า 5 ปีแล้ว  ลองผิดลองถูกมามากมาย  555++

สิ่งที่สำคัญของการสร้างบล็อกคืออะไร ?
เนื้อหา !! เนื้อหาครับ  เพราะทุกอย่างในโลกออนไลน์คือการเขียน  ทำเนื้อหาให้น่าสนใจ มีประโยช์ต่อผู้อ่าน  เนื้อหาในที่นี้ก็คือ ข้อความ รูปภาพ เสียง  VDO แล้วแต่ถนัดครับ  คงไร้ประโยชน์มาก...ถ้าเราสร้างบล็อกสวยงาม อลังกาล แต่ไร้ข้อความนำเสนอ  บล็อกก็เหมือนกับเราต้องการหนังสือสักเล่มที่มีเนื้อหาตรงใจเรา  การสร้างบล็อกอาจรวมทุกอย่างไว้ใน 1 บล็อกก็ได้  หรือ แยกเรื่อง ก็ได้  ส่วนผม...มักจะรวมไว้ที่เดียวดีกว่า เพราะว่าจัดการง่ายดี

เอาเป็นว่าบทความนี้ขอจบเพียงเท่านี้นะคับ  เดี๋ยวจะยาวเกินไป  ผู้อ่านจะพากันขี้ตาแฉะไปซะก่อน  เดี๋ยวมาต่อบทความหน้า  และจะมีเนื้อหาและวิธีการทำมานำเสนอเช่นเคยครับ

ขอบคุณที่ติดตามครับ ^_^"


The best Improvisation - by Toffy Society



Free time after I come back from working I'll play guitar and make music. I think that the music make you for happy. ^_^"

Thanks for Watching my VDO

โคราชท่วมแล้ว.....สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา


ASEAN ECONOMIC COMMUNITY IS COMING IN 2015 !!!


Thailand may encounter both crises and opportunities when the Asean Economic Community is implemented in a few years. But if Thais prepare thoroughly, the AEC would not affect them that badly and they may even find opportunities, academics said recently.

However, after seeing no concrete move towards preparing for the AEC by the government, Visanu Vongsinsirikul, director of Dhurakij Pundit University’s Asean Community Preparation Centre (ACPC), the most influential body with the power to prepare the country for changes, called on the government to think and act as soon as possible. Otherwise Thailand would lag behind other countries rather than be able to grasp the opportunities.

“Thailand has advantages over other Asean countries in terms of geographical features, weather, races and cost of living. The question is how can we make use of the advantages we have?” he said.

“Foreign languages, English in particular, are our big problem. But we can learn them,” he said.

“We cannot escape the AEC. Even if we don’t want to work in other Asean countries, citizens from those countries will certainly come to work in Thailand,” he said.

The government should put preparing for the AEC on the national agenda.


“Prime Minister (Yingluck Shinawatra) should assign each ministry to study what it should do and present its own proposals to the premier. Then, the ministries implement the proposals. If the government tries to achieve good preparation and successfully does that, it will be the government’s great accomplishment.”

ACPC is trying to educate people about the Asean community, including the AEC, to help them understand Asean and inspire them to find possible opportunities in the new setup.

ACPC has provided seminars and courses on the Asean community to requesting agencies, including educational institutions, and has invited experts on Asean to share their knowledge.

It has joined hands with the Thailand Development Research Institute to carry out research on the state of preparation of institutions in basic, vocational and higher education in Thailand and compare that to Singapore, Malaysia, the Philippines and Indonesia.

The centre has also surveyed business owners on how they think the AEC will affect their business, what they want the government to do to help and what kinds of employees they want.

The ACPC will help them voice what they want so that they can seek assistance from the government. The survey results will also be used as a guideline for education so educators will adjust their curricula to produce more qualified workers for the AEC.

Entrepreneurs and educators should work together to revamp curricula.

However, most teachers do not understand the AEC well enough while officials at the Education Ministry who shape policies show inadequate preparation.

The ministry should find more people with English communication skills and let them teach at schools. The curricula revamp should encourage students to think analytically and be able to solve problems so they are able to handle problems when growing up. Teachers should study and understand the ways of life and cultures of other Asean countries, he added.

Wiriyah Ruechaipanit, founder and coach of www.eduzones.com, a popular education site in Thailand, said students should keep four things in mind to deal with the coming challenges from the AEC.

“Only a bachelor’s diploma is not enough. They should learn an occupation, like cooking or haircutting, that will give them more job opportunities. They should learn how to search for knowledge by themselves. When studying what they like, they should study it deeply. Lastly, they should not forget to adhere to what people consider as morality,” he said.

“Now, teachers use only 50 per cent of their capacity. They are interested in and alert to the challenges, but they have been working in the same system for a long time. I’m not sure how much they will be able to prepare students,” he said.

So, teachers should work harder and think “out of the box”, he added.

Both academics recently hosted seminars together in each region of the country to inspire teachers to prepare themselves and their students for the AEC. The ACPC plans to organise more seminars in more provinces this year.

“Don’t wait until we experience the impact as it may be too late. We should prepare ourselves first,” Visanu said as a warning to his fellow countrymen.

Source: http://www.thai-aec.com/139

What is AEC ?


AEC stands for ASEAN Economic Community which comprises 10 nations in Southeast Asia. The goal of establishing AEC is to transform the region into a single market and production base with a highly competitive advantage to make it a stable and prosperous region. 

The 10 ASEAN member countries comprise Brunei Darussalam, Cambodia, Indonesia, Laos, Malaysia, 
Myanmar, The Philippines, Thailand, Singapore and Vietnam. 

At the 12th  ASEAN Summit in January 2007, the Leaders of the 10 ASEAN member countries agreed to hasten the establishment of the AEC by 2015. The ASEAN Leaders adopted the ASEAN Economic Blueprint at the 13th  ASEAN Summit on 20 November 2007 in Singapore to serve as a master plan. 


The characteristics and elements of AEC : 

A. Single Market and Production Base which shall comprise five core elements as follows: 
1. Free flow of goods; 2. Free flow of services; 3. Free flow of investment; 4. Freer flow of capital; 
5. Free flow of skilled labour. 

B. Competitive Economic Region, according to the AEC blueprint: 
1. Competition Policy; 2. Consumer Protection; 3. Intellectual Property Rights; 4. Infrastructure 
Development; 5. Taxation; 6. E-Commerce. 

C. Equitable Economic Development which shall comprise: SME Development; 2. Initiative for 
ASEAN Integration 

D. Integration into the Global Economy comprising : 
 1. Cooperative Approach towards External Economic Relations; 
 2. Enhance Participation in Global Supply Networks. 

There is also an Implementation part in the Blueprint comprising: 
A.Implementation Mechanism; B.Resources; C.Communications; D.Review 

In each core element there are details of introduction and action plans many of which have timelines. A number of actions have already started and some have completed, but most are underway and have to be ready by 2015.

The Road to Suranaree University of Technology at Nakhonratchasima, Thailand (^_^)